คำตอบ

ก่ำ เป็นข้าวพันธุ์ข้าวเหนียวดำ คนท้องถิ่นเรียกกันสั้น ๆ ว่า ก่ำหรือข้าวก่ำ เพราะมีสีของเมล็ดข้าวเป็นสีแดงเข้มออกม่วง หรือเรียกว่า แดงก่ำออกม่วง จึงเรียกว่าข้าวก่ำ ซึ่งพบว่าสารอาหารที่เป็นสารสีม่วงของเปลือกเมล็ดข้าวก่ำ คือสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารแกมมาโอไรซานอล (Gamma oryzanol) แอนโทไซยานินมีสมบัติในด้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยในการหมุนเวียนของกระแสเลือด ชะลอการเสื่อมของเซลล์ของร่างกาย และยับบั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด ส่วนสารแกมมาโอไรซานอล นอกจากจะมีสมบัติต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันแล้ว ยังสามารถลด คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับของสาร HDL (High density lipoprotein) ในเลือด ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มระดับฮอร์โมนอินซูลินของคนที่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ต้านการหืนของไขมันในรำข้าวอีกด้วย

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

สุนทร ตรีนันทวัน.  ก่ำชอบอยู่ทางภาคเหนือมากกว่าภาคอื่น.  นิตยสาร สสวท. ปีที่ 38, ฉบับที่ 166, (พฤษภาคม-มิถุนายน) 2553, หน้า 74.