Author : ภาวิณี เทียมดี และกนกวรรณ พุ่มนารินทร์.
Source : วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 43, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 517-528
Abstract : งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการใช้ซอร์บิทอลเป็นพลาสติกไซเซอร์ต่อสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของฟิล์มเคลือบผิวจากแป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินเพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยน้ำว้า ส่วนผสมฟิล์มพื้นฐานเตรียมโดยการละลายแป้งมันสาคูเม็ด (3%w/v) และเจลาติน (3%w/v) ในน้ำกลั่น เติมซอร์บิทอลที่ความเข้มข้นต่างกัน 6 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40, และ 50 %w/v ขึ้นรูปแผ่นฟิล์มในจานแก้วและทำให้แห้ง ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าความหนาของแผ่นฟิล์ม ทุกตัวอย่างมีค่าเพิ่มขึ้นตามลำดับจาก 0.08 ถึง 0.19 มิลลิเมตร ตามความเข้มข้นของ ซอร์บิทอลที่เพิ่มขึ้น ค่า aw ของแผ่นฟิล์มอยู่ระหว่าง 0.42 และ 0.55 ค่าการซึมผ่าน ของไอน้ำ การละลาย และความอ่อนนุ่มของแผ่นฟิล์มทุกตัวอย่างเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณ ซอร์บิทอลเพิ่มขึ้น หลังจากฝังแผ่นฟิล์มลงในดิน (ลึก 6-8 เซนติเมตร) เป็นเวลา 10 วัน พบว่าเกิดการย่อยสลายได้ร้อยละ 82.50-100 การเคลือบผิวกล้วยน้ำว้าด้วยฟิล์ม แป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินที่มีซอร์บิทอลร้อยละ 20 สามารถยืดอายุการเก็บรักษา ผลกล้วยน้ำว้าได้เพิ่มขึ้นจาก 3 วัน เป็น 9 วัน ที่อุณหภูมิห้อง ผลการทดลองแสดงให้ เห็นว่าฟิล์มเคลือบจากแป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินที่ใช้ซอร์บิทอลเป็นพลาสติกไซเซอร์ เป็นวัสดุย่อยสลายได้ทางธรรมชาติและอาจใช้ยืดอายุการเก็บรักษากล้วยน้ำว้าได้.
Subject : เจลาติน. ผลิตภัณฑ์อาหาร. ซอร์บิทอล.
ผลของปริมาณซอร์บิทอลต่อสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของฟิล์มเคลือบผิวจากแป้งมันสาคูเม็ด
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1961