- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1785
Author : วิรัตน์ ทองรอด
Source : หมอชาวบ้าน ปีที่ 31 ฉบับที่ 363 ว/ด/ป ก.ค. 2552 หน้า 18-22
Abstract : วิตามินสำหรับมนุษย์มี 2 แหล่งใหญ่ๆ คือประเภทแรก เป็นแหล่งวิตามินที่ได้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว เมล็ดพืช น้ำมัน นม ตับ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ฯลฯ ประเภทที่สอง คือ วิตามินที่มีการผลิตในรูปแบบของยาสำเร็จรูปเรียกว่า “ยาเม็ดวิตามิน” เมื่อเปรียบเทียบวิตามินทั้งสองประเภท พบว่า วิตามินที่ได้จากอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะลักษณะอาหารของประเทศไทยมีชนิดและปริมาณที่เพียงพอ นำไปใช้งานง่าย ซึ่งคุ้มค่าและดีกว่ายาเม็ดวิตามิน ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาและข้อพิสูจน์เกี่ยวกับวิตามินกับโรคต่างๆมากขึ้น มีทั้งได้ผลดี และไม่ได้ผลในการป้องกันหรือรักษาโรค ยกตัวอย่าง หญิงวัยทองที่ใช้วิตามินรวมจะมีโอกาสเป็นมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคสมองขาดเลือดใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ใช้วิตามิน อย่างไรก็ตาม มีหลายโรคที่มีรายงานว่า การใช้วิตามินมีประโยชน์คุ้มค่า ช่วยป้องกันโรค และช่วยให้ร่างกายเป็นปกติได้ ยกตัวอย่าง สารโฟเลต (folate) หรือ กรดโฟลิก (folic acid) ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ทั้งนี้ การใช้ยาเม็ดวิตามินควรใช้เมื่อจำเป็นไม่พร่ำเพรื่อ เพราะอาจเกิดโทษได้การให้วิตามินซีในเด็ก หากใช้พร่ำเพรื่อไม่เหมาะสม อาจทำให้เด็กฟันผุได้ง่าย.
Subject : วิตามินเสริม.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 1928
Author : กองบรรณาธิการ
Source : UPDATE ปีที่ 24 ฉบับที่ 257 (ก.พ. 2552) หน้า 118-119
Abstract : ข้าวกล้องงอกมีคุณค่าโภชนาการสูงเพราะอุดมไปด้วยสารการบา (GABA) วิตามินบี 1 และ กรดไฟติก (Phytic acid) โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน คณะทรัพยาการชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์ “Germ Rice” ซึ่งเป็นข้าวกล้องงอกหอมมะลิอย่างดี ผ่านกระบวนการงอกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้านการปลูก ทำให้รากงอกยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในเมล็ดข้าว ทำให้เกิดการปลดปล่อยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ในระหว่างที่ข้าวงอกนั้นเอนไซม์ในเมล็ดข้าวจะย่อยสลายแป้ง โปรตีน ไขมันให้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เพื่อเปลี่ยนรูปสารที่ย่อยสลายให้เป็นองค์ประกอบที่จำเป็น การรับประทานข้าวกล้องงอกอย่างต่อเนื่องจะช่วยเร่งเมแทบอลิซึมของสมอง ป้องกันอาการปวดศีรษะและโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต หุงขึ้นหม้อ และมีกลิ่นหอมจากธรรมชาติ.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2256
Author : จุไร เกิดควน
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 19 ฉบับที่ 401 ว/ด/ป 15 ก.พ. 50 หน้า 26
Abstract : จากการศึกษาหาความดันและระยะเวลาในการอัดความดันที่เหมาะสมในการทมะม่วงดองโดยใช้ความดันไฮโดรสแตติกแบบความดันสูงและแบบสุญญากาศโดยใช้ถังสแตนเลส ขนาด 0.015 ลูกบาศก์เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร และสูง 40 เซนติเมตร เป็นถังดองมะม่วง พบว่า การดองภายใต้ความดันสูงสามารถทำให้เกลือมีอัตราการแพร่เข้าสู่มะม่วงได้มากกว่าที่ไม่ใช้ความดัน และการดองภายใต้ความดันที่ 500 กิโลบาสคาล มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับความเข้มข้น พบว่า ที่ความเข้มข้นเกลือร้อยละ 10 โดยน้ำหนักที่เวลา 6 วัน และความเข้มข้นเกลือร้อยละ 15 โดยน้ำหนักที่เวลา 4 วัน จะทำให้คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การดองแบบสุญญากาศมราความเข้มข้นเกลือร้อยละ 10 และ 15 โดยน้ำหนักต้องใช้เวลามากกว่า 9 วัน จึงจะมีปริมาณเกลือถึงจุดสมดุลและใกล้เคียงกับมะม่วงสูตรดองเค็มที่ดองด้วยวิธีปกติมากที่สุด การออกแบบถังความดันสำหรับการดองมะม่วงความดันไฮโดรสแตติกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นี้ สามารถนำไปพัฒนาในการประกอบอุตสาหกรรมการถนอมอาหารกับผลิตผลทางการเกษตรชนิดอื่น เพราะสามารถลดเวลาในการผลิตและแปรรูปออกสู่ตลาดได้.
Subject : เครื่องดองผลไม้--มะม่วง.
- Details
- Category: food and Agro-Industry
- Hits: 2037
Author : กองบรรณาธิการ
Source : UPDATE ปีที่ 22 ฉบับที่ 239 (ส.ค. 2550) หน้า 121-122
Abstract : นักวิจัยจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะได้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากคัพภะข้าว และข้าวกล้องงอกเป็นอาหารสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งนี้ได้ศึกษาปัจจัยการผลิตสายพันธุ์ข้าว และสภาวะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม พัฒนากรรมวิธีการผลิตข้าวกล้องงอกที่มีกรดแกมมา-อะมิโนบิวไทริก (V-Aminolutyrie acid, GABA) สูง จากข้าวสายพันธุ์ต่างๆ เนื่องจากข้าวกล้องที่ประกอบด้วยจมูกข้าวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์จำนวนมากอาทิใยอาหาร กรดไฟติก กรดเฟรูลิก วิตามินบีและอี และ GABA ที่ช่วยป้องกันโรคต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และช่วยควบคุมน้ำหนักตัว และสามารถนำมาพัฒนาเป็นแป้งข้าวกล้องงอกและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพอื่นๆได้ จากการวิจัยพบว่า ข้าวกล้องงอกจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะให้ปริมาณ GABA สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ และได้จดอนุสิทธิบัตรแล้ว ขณะนี้คณะวิจัยกำลังดำเนินการขยายผลงานวิจัยสู่ระดับต้นแบบการผลิตข้าวกล้องงอกโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)